PP IGCxHuawei
ยกระดับห่วงโซ่คุณค่า สู่โอกาสทางธุรกิจ

PP IGC x Huawei
ยกระดับห่วงโซ่คุณค่า สู่โอกาสทางธุรกิจ

PP IGC x Huawei 

ยกระดับห่วงโซ่คุณค่า สู่โอกาสทางธุรกิจ

การทำธุรกิจสมัยนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องของการตลาดด้วยวิธี Collaboration หรือที่เราเห็น แบรนด์เอ x แบรนด์บี พัฒนาธุรกิจ สินค้าและบริการใหม่ๆ ร่วมกันกำลังเป็นนิยมอย่างมาก ซึ่งการ Collab ของแบรนด์ต่าง ๆ นำมาสู่การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการ ยกระดับความร่วมมือทางธุรกิจ ขยายกลุ่มลูกค้า ต่อยอดพัฒนาสู่ธุรกิจใหม่ๆ 

การผสานความรู้นั้นเป็นหนึ่งในคุณค่าหลัก ที่กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ใช้ดำเนินธุรกิจตลอดมา คุณสมชาย โรจน์อัศวเสถียร กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) นำทีมบริหารธุรกิจพลังงานสะอาดด้วยการชูเรื่องการผสานความรู้สร้างความร่วมมือกับคู่ค้า ที่ไม่ได้หวังเพียงแค่ผลลัพธ์ทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังมุ่งขยายผลลัพธ์ไปสู่มิติอื่นๆ ทั้งการพัฒนาสังคม การใส่ใจชุมชนรอบข้างอีกด้วย 

โครงสร้างของหน่วยงานพลังงานสะอาดแยกออกเป็น 2 ธุรกิจหลัก คือ บริษัท อินฟินิทกรีน จำกัด (IGC) พัฒนาโซลาร์ฟาร์ม  ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ บมจ.พรีเมียร์โพรดักส์ (PP) ดำเนินการพัฒนาโครงการ      โซลาร์รูฟท็อปและพลังงานอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโซลาร์รูฟท็อป ดูแลให้บริการลูกค้าอย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ โครงสร้าง การประเมินความคุ้มค่า การขอและต่อใบอนุญาตในการติดตั้ง การก่อสร้าง ตลอดจนการดูแลรักษาผลิตภัณฑ์ทั้งระบบให้กับลูกค้า ภายหลังการขาย

ทำงานร่วมกับห่วงโซ่ที่มีแนวคิดและเป้าหมายเดียวกัน

สู่การยกระดับอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด

คุณสมชายบอกว่า ตลอดการทำงานยึดเรื่องคุณค่าหลักของกลุ่มพรีเมียร์เสมอ ตลอดมาและไม่ลืมที่จะคอยย้ำเรื่องนี้ให้กับทีม โดยเฉพาะเรื่องการผสานความร่วมมือ เพราะทั้ง IGC และ PP ทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน แต่เป็นกลุ่มที่ต่างกันออกไป อย่างคนในห่วงโซ่ของ IGC จะเป็นหน่วยงานราชการตั้งแต่ อบต. กระทรวงพลังงาน, ลูกค้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ผู้รับเหมาบำรุงรักษา (Preventive Maintenance) รวมไปถึงการดูแลคนในชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้า  ในส่วนของ  PP ที่ลักษณะธุรกิจเป็นรูปแบบการค้าและบริการอย่างครบวงจร ห่วงโซ่ก็จะกว้างและหลากหลายมากกว่า ทั้งการเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับโซลาร์รูฟท็อปของแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก อาทิ หัวเหว่ย  หรือคู่ค้าที่เป็นกลุ่มธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม , คู่ค้ารูปแบบสัญญาการลงทุน สัญญาการดูแลรักษาระบบและอุปกรณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า PRIVATE PPA (PRIVATE POWER PURCHASE AGREEMENT และ SERVICE  CONTRACT)   ไปจนถึงลูกค้ารายย่อยบ้านอยู่อาศัยทั่วไป

จริง การเลือกทำธุรกิจกับคู่ค้า ก็เหมือนการเลือกคนแต่งงานกับเรานะ  เหตุผลที่เราเลือกคนนี้เพราะเราอยากอยู่กับเขานาน   เป็นคนที่มีความคิดใกล้เคียงกับเรา มีความเกื้อหนุนกัน สุดท้ายแล้วก็เพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกันที่ยั่งยืน

เพราะฉะนั้นในระหว่างทางของการทำงานร่วมกับคู่ค้า เราต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน ทั้งเรื่องการให้ความรู้ การจัดแคมเปญ สร้างกิจกรรมทางการตลาดที่จะทำให้เราและเขามีรายได้ และเพิ่มประโยชน์เกื้อหนุนร่วมกันเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการทำกิจกรรมที่ไปพัฒนาด้านสังคม ทั้งสังคมที่อยู่บริเวณรอบโรงไฟฟ้าของเรา รวมถึงสังคมโดยรวมที่ยังมีความต้องการอยู่   พร้อมขยายการมีส่วนร่วมไปสู่คู่ค้าของเราด้วยเพราะนอกจากการได้ดูแลและพัฒนาสังคมที่เป็นห่วงโซ่สำคัญของเราให้มีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นแล้วยังถือเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจเป็นโอกาสต่อยอดสู่การสร้างธุรกิจใหม่ๆจนถึงการร่วมพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมที่เราทำนี้ให้เติบโตไปข้างหน้าพร้อมๆกันในแบบที่ยั่งยืนต่อไปได้

โครงการ Repowering ผสานความรู้กับหัวเหว่ย

เพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าทางธุรกิจ

โครงการ Repowering เป็นตัวอย่างของการทำงานแบบยกระดับห่วงโซ่คุณค่าอย่างชัดเจน เพราะผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้ก่อเกิดประโยชน์ร่วมกันในทุกฝ่าย  คุณสมชายเล่าว่าโครงการ Repowering เป็นการทำงานร่วมกัน 3 บริษัท ระหว่าง IGC, PP  และ บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด สำหรับหัวเหว่ยเป็นคู่ค้าที่ดีต่อกันมาก่อนหน้านี้ และยังมีแนวคิดการทำธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมตรงกันกับเรา จึงเป็นสัญญาณที่ดีที่จะร่วมพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ด้วยกัน

ครงการนี้เกิดจากความต้องการพัฒนาอุปกรณ์และระบบผลิตไฟฟ้าเพิ่มประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า IGC ที่ผลิตไฟฟ้ามาแล้วกว่า 10 ปี  ซึ่งประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เริ่มเสื่อมลงตามสภาพการใช้งานและตามกาลเวลา เราทำงานกันอย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอน  ตั้งแต่ศึกษาโครงสร้าง (Layout) ของโรงไฟฟ้า ไปจนถึงประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนร่วมกัน ทดลองเปลี่ยนระบบต่างๆ ให้ทันสมัยและเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด  ยกตัวอย่างตัวแปลงกระแสไฟฟ้าตรงเป็นกระแสไฟฟ้าสลับ หรือ Inverter ซึ่งก่อนหน้านี้เราใช้เป็น Single phase 4 KW ประสิทธิภาพการแปลงไฟฟ้า ซึ่งเมื่อ 10 ปีที่แล้วเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่ก็มีอัตราประสิทธิภาพลดลงตามระยะเวลาการใช้งาน แต่ในปัจจุบัน Inverter สามารถมีประสิทธิภาพแปลงไฟฟ้าได้มากกว่า และราคาถูกลงเราจึงทดลองเปลี่ยนมาใช้ Inverter รุ่นใหม่ของหัวเหว่ย ที่สามารถแปลงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และมีระบบ ITในการดูแลรักษาอุปกรณ์ และประสิทธิภาพให้สูงขึ้นซึ่งเมื่อทดลองพัฒนาอุปกรณ์และระบบต่างๆ ในการผลิตไฟฟ้าแล้ว ความคุ้มค่าก็เป็นไปตามที่เราประเมินไว้และเป็นที่น่าพึงพอใจอย่างมาก ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของ IGC ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมโดยเฉลี่ยมากกว่า 5 %  สามารถเพิ่มรายได้ให้กับโรงไฟฟ้า เกิดความคุ้มค่าการลงทุน และลดความเสื่องปัญหาจากการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าให้สามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่อง

เกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย เป็นโอกาสต่อยอดทางธุรกิจในอนาคต

โครงการนี้ทำให้เราเห็นผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย โดย IGC สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า เพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ ส่วน PP ก็ได้เปิดตลาดใหม่ ได้เรียนรู้เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในตลาด สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับคู่ค้า ลูกค้า โดยที่เราสามารถนำเสนอจากประสบการณ์ใช้งานจริง มีโรงไฟฟ้าตัวอย่างให้มาศึกษา รวมถึงการทำงานร่วมกับหัวเหว่ยที่เป็นบริษัทชั้นนำที่มีชื่อเสียงระดับโลก ช่วยยกระดับธุรกิจของเราสู่ตลาดสากล ในขณะเดียวกันหัวเหว่ยที่ไม่เคยทำโครงการเกี่ยวกับโรงงานผลิตไฟฟ้าก็ได้ยกระดับธุรกิจของตัวเองสู่การเปิดตลาดในธุรกิจนี้จากการศึกษาและทำโครงการร่วมกับ IGC จนสำเร็จเป็นโครงการต้นแบบของหัวเหว่ย 

และหากถามว่าโครงการ Repowering ที่เกิดประโยชน์กับคนในห่วงโซ่แล้ว  สามารถต่อยอดธุรกิจในรูปแบบพาณิชย์ได้ไหม ตอบว่าได้แน่นอน และเราตั้งใจใช้โมเดลธุรกิจนี้เป็นต้นแบบต่อยอดขยายสู่ธุรกิจพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีและอุปกรณ์ให้กับโรงผลิตไฟฟ้าที่อื่นๆในอนาคต เพราะโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มในตลาดส่วนใหญ่ตอนนี้ก็จะมีอายุประมาณ  8 -10 ปี อุปกรณ์บางอย่างเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพลงไปเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับ IGC  โครงการ Repowering ชี้ให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการลงทุน เราจึงมีแผนพัฒนาธุรกิจร่วมกันเพื่อเปิดตลาดนี้ต่อไปในอนาคตแน่นอน และเรามองเห็นแล้วว่าการสร้างความร่วมไม้ร่วมมือนั้นเกิดผลลัพธ์ที่ดีและสามารถเกิดโอกาสทางธุรกิจต่อไปได้อีกไกล เราก็ตั้งใจใช้ Business Model นี้เป็นต้นแบบในการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ ของสายธุรกิจของเราต่อไปอีกด้วย

ต้องไม่หยุดนิ่ง การหยุดอยู่กับที่เท่ากับการถอยหลัง

2-3 ปีที่ผ่านมาธุรกิจพลังสะอาด พลังงานทดแทนนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดมาก องค์กรต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าหลักที่เป็นกลุ่มธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม เริ่มมองเห็นความคุ้มค่าในการลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์ ทำให้ธุรกิจเราเติบโตค่อนข้างดี เพราะไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้นสามารถประหยัดต้นทุนการผลิตได้มาก เรามีแผนเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ต่อยอดธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด การวางแผนการตลาดมากขึ้น เช่นผลิตภัณฑ์โซล่าในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง(Building Integrated Photovoltaic: BIPV)  คือการนำแผงโซลาร์มาใช้ในองค์ประกอบโครงสร้างของอาคาร ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เลย  อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน อุปกรณ์กักเก็บพลังงาน (ENERGY STORAGE)  ในอนาคตการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะมีมากขึ้น จำเป็นต้องมีการติดตั้งที่ชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (CHARGING STATION) ก็มีการคิดวางแผนต่อยอดเชิงธุรกิจเหล่านี้เช่นกันเพราะเรื่องพลังสะอาดเป็นธุรกิจที่สามารถต่อยอดไปได้อีกไกล

คุณสมชายทิ้งท้ายว่าเราต้องไม่หยุดนิ่ง ทุกวันต้องเดินหน้าต่อไปตลอดเวลา การหยุดอยู่กับที่ ไม่พัฒนาหรือแสวงหาสิ่งใหม่ก็เท่ากับการถอยหลัง เทคโนโลยีปัจจุบันมีให้เลือกใช้เยอะและเปลี่ยนไปเร็วมาก เราต้องยกระดับตัวเอง ยกระดับทีมงาน เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการทำงาน พัฒนาการทำงานร่วมกับคู่ค้า สร้างโอกาสทางธุรกิจ ยกระดับธุรกิจให้เดินไปข้างหน้า ที่สำคัญคือการทำธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล เพราะการเป็นคนดีและคนเก่งต้องควบคู่กัน คุณค่าหลักของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ทั้ง 5 ด้านนี่คือดีที่สุดแล้ว สามารถใช้ได้ทั้งในชีวิตจริงและชีวิตการทำงาน

นมโอ๊ต x เมนูออร์แกนิก
เติมเต็มรสชาติที่คุณรักษ์

นมโอ๊ต x เมนูออร์แกนิก
เติมเต็มรสชาติที่คุณรักษ์

นมโอ๊ตทางเลือกใหม่ถูกใจสายเฮลตี้ที่รักกาแฟนมเพราะนมโอ๊ตมีเนื้อข้นกว่านมอัลมอนด์หรือนมถั่วเหลืองทำให้ผสมเข้ากับกาแฟได้ดีกว่าและมีกลิ่นอ่อนกว่าไม่รบกวนกลิ่นที่มีเอกลักษณ์ของกาแฟพอผสมกับกาแฟหรือเครื่องดื่มอื่นแล้วรสชาติก็แทบไม่ผิดเพี้ยนไปจากการผสมด้วยนมวัวเลย

ทำไมนมโอ๊ต ถึงมาแรงในยุคนี้?

ก็เพราะเป็นนมสำหรับคนรักสุขภาพ

  • อุดมไปด้วยสารอาหารที่ร่างกายเราต้องการวิตามินบีวิตามินดีแคลเซียมโฟเลตแมกนีเซียมสังกะสีและธาตุเหล็ก
  • มีไฟเบอร์มากกว่าแต่มีไขมันน้อยกว่านมวัวจึงเหมาะสำหรับสายสุขภาพ
  • มีแคลเซียมที่เทียบเท่านมวัว จึงเหมาะสำหรับเด็กและผู้สูงอายุที่ร่างกายต้องการแคลเซียม
  • ให้พลังงานที่มาจากคาร์โบไฮเดรตช่วยให้อยู่ท้องเกือบทั้งวันในขณะที่นมพืชตระกูลถั่วอื่นๆให้พลังงานจากไขมัน
  • เป็นทางเลือกสำหรับคนที่แพ้แลคโตสและแพ้ถั่ว

ก็เพราะเป็นนมสำหรับคนรักษ์โลก

Carbon Footprint ในการผลิตนมโอ๊ต 1 แก้วนั้นอยู่ที่ 0.18 กิโลกรัม โดยนมโอ๊ตหนึ่งแก้วใช้น้ำน้อยกว่าที่นมอัลมอนด์ใช้ถึง 8 เท่าตัว และนมโอ๊ตยังใช้พื้นที่ในการปลูกน้อยกว่าพื้นที่ในการเลี้ยงวัวราว 91% นมโอ๊ตจึงเป็นทางเลือกสำหรับคนรักษ์โลกได้แบบขาดลอยเลยทีเดียว

พบกับมีวนาได้ที่ MiVana Coffee Flagship Store

ถนนศรีนครินทร์ ซอยพรีเมียร์ 2 หรือซอยศรีนครินทร์ 57 ข้างศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค

เปิดบริการทุกวัน เวลา 7.30 – 17.30 .

กาแฟมีวนา.. เติบโตใต้เงาป่าอุดมคุณค่าเกษตรอินทรีย์

การประเมินคุณค่าบริการระบบนิเวศ เพื่อการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

การประเมินคุณค่าบริการระบบนิเวศ
เพื่อการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

ด้วยเป้าหมายที่ต้องการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำอย่างจริงจังและยั่งยืน โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า     มีวนา จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (BEDO)

จัดทำการประเมินคุณค่าบริการระบบนิเวศ ในพื้นที่โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า . เชียงราย 

สรุปมูลค่าบริการระบบนิเวศของพื้นที่ในโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า มีวนา พื้นที่ 4,671.25 ไร่

คิดเป็นมูลค่า 555,468,585.90 บาทต่อปี หรือเฉลี่ย 118,912 บาท ต่อไร่ ต่อปี

ตัวเลขนี้มาจากไหน และการเก็บข้อมูลทำอย่างไรคุณธวัชชัย  โตสิตระกูล  ที่ปรึกษา งานรับรองระบบมาตรฐาน และคุณคมศักดิ์ เดชดี ผู้จัดการทั่วไป งานส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และแปรรูปเมล็ดกาแฟ เล่าถึงที่มาและขั้นตอนการทำงานของมีวนา และวิธีที่ชาวพรีเมียร์จะมีส่วนร่วมในการรักษาป่าต้นน้ำ ในคอลัมน์ “Mivana เล่าเรื่อง Core Value”

คุณธวัชชัย เล่าว่า บริษัท มีวนา ดำเนินธุรกิจกาแฟอินทรีย์ตั้งแต่ปี 2555 ส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเชียงรายปลูกกาแฟในระบบเกษตรอินทรีย์ และรับซื้อผลผลิตทั้งหมดจากเกษตรกรเพื่อแปรรูปและจำหน่าย โดยตั้งเป้าหมายให้เป็นกิจการเพื่อสังคม คือ ทำหน้าที่พัฒนาเศรษฐกิจและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเกษตรกร พร้อมกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 3 แห่งคือ ต้นน้ำแม่ลาว ต้นน้ำแม่สรวย และต้นน้ำแม่กรณ์  ด้วยพื้นที่ป่าต้นน้ำทั้งหมด 4,671.25 ไร่ เราแบ่งเป็นพื้นที่ในการพัฒนา 2 รูปแบบคือ 1) พื้นที่ป่าเดิมที่อนุรักษ์ไว้แล้วจึงมีการปลูกกาแฟเสริม กับ           2) การปลูกต้นไม้เสริมในพื้นที่ป่าฟื้นฟูที่มีสวนกาแฟอยู่แล้วเพื่อให้ร่มเงาสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ

คุณคมศักดิ์ เล่าว่าการประเมินคุณค่าและมูลค่าความหลากหลายของระบบนิเวศนี้ ทำขึ้นเมื่อเดือนเม..- .. ที่ผ่านมา เราได้รับเกียรติจาก ดร. พงษ์ศักดิ์ วิสวัสชุติกุล เป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้ ซึ่งทีมงานมีวนาต้องผ่านการอบรมจาก BEDO ความท้าทายของการทำงานนี้  คือข้อมูลที่เก็บต้องมีความละเอียด ถูกต้อง ซึ่งบางพื้นที่มีความลาดชัน มาก เมื่อฝนตกก็ทำให้พื้นที่มีความลื่นกว่าปกติ และทีมงานต้องเก็บวัดผลอย่างต่อเนื่องตลอดการทำงานเพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์ประมวลผลได้ตามหลักการ เราได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรที่มีความชำนาญและเข้าใจสภาพพื้นที่เป็นอย่างดี ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมฯ ทำให้ทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นและสามารถวัดผลได้ตามที่ต้องการ

  1. กำหนดพื้นที่แปลงทดลองขนาด 20×40 ตารางเมตรในพื้นที่ต้นน้ำทั้ง 3 แห่ง
  2. ติดเครื่องหมายเลขที่ต้นไม้ในแปลงทดลอง ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 1.30 เมตรจากผิวดิน มากกว่า 4.5 เซนติเมตร  และต้นไม้ที่มีความสูงทั้งหมดของต้นมากกว่า 1.30 เมตร
  3. วัดความสูงของต้นไม้ (H)
  4. วัดความสูงของลำต้นจากจุดที่เป็นกิ่งแรกของต้นไม้
  5. วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของเรือนยอดของต้นไม้ทุกต้น
  6. วัดข้อมูลความลึกของชั้นดิน 
  7. เก็บข้อมูลเสริม 2 ส่วน คือ ปริมาณน้ำฝนรายปี (Ra)  และ ข้อมูลลักษณะภูมิประเทศ (CNt) เพราะเป็นปัจจัยโครงสร้างของระบบนิเวศต้นน้ำที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำผิวดิน ควบคุมการกัดชะพังทลายของดิน และศึกษาสภาพอากาศของพื้นที่

โดยผลลัพธ์ของการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ นี้คิดเป็นมูลค่า 555 ล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ย 118,912 บาท ต่อไร่ ต่อปี เป็นตัวเลขในเชิงคณิตศาสตร์ที่เราวัดทั้งความอุดมสมบูรณ์ของต้นไม้ และการลดความสูญเสียของดินและสารอาหารที่จำเป็นต่อต้นไม้ และปัจจัยอื่นๆ  หากจะอธิบายให้เข้าใจง่าย คือ เมื่อเราปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น มีพื้นที่ป่าต้นน้ำมากขึ้น ประโยชน์ที่จะได้รับคือ การชะลอปริมาณน้ำฝนที่จะไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่างทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพราะพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์จะช่วยเก็บกักน้ำฝนลงสู่ผืนดินได้นานขึ้น ช่วยบรรเทาความรุนแรงของสภาพอากาศ นอกจากนี้ต้นไม้จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ช่วยลดโลกร้อนอีกด้วย  ที่สำคัญคือเมื่อพื้นที่ป่าต้นน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ ระบบนิเวศของผืนป่าก็จะกลับมา เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชพันธุ์ไม้ รวมถึงสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่จำเป็นต่อระบบนิเวศก็จะกลับคืนมาเช่นกัน

นอกจากนี้การปลูกกาแฟในพื้นที่ป่าของมีวนา เรายังมีการประเมินมูลค่าบริการระบบนิเวศฯ ด้วยการเรียงลำดับความหลากหลายของพันธุ์ไม้และร่มเงา (Shade Grown) เป็น 4 ระดับจากมากไปน้อยอีกด้วย เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาต้นไม้ เพิ่มพื้นที่ป่ามากขึ้นในทุกปี เพราะหากต้นไม้มีการเติบโตสูงมากขึ้น และช่วยสร้างร่มเงาในพื้นที่ป่ามากขึ้นเท่าไหร่ สมาชิกก็จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นตามลำดับ

 

นอกจากการวัดประโยชน์ในด้านความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าแล้วเกษตรกรยังได้รับประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ที่เราส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ชุมชน เช่น อะโวคาโด โกโก้ พลับ และอีกมากมาย และประโยชน์ในเชิงคุณภาพชีวิตของเกษตรกรก็ดีขึ้น  มีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะเป็นการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ลดใช้สารเคมี และทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ป่า ร่วมกับภาครัฐ มีพื้นที่ทำกินและสร้างคุณค่า เป็นวิถีที่คนกับป่าอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

คุณธวัชชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า  จากผลลัพธ์ของการร่วมรักษาป่าต้นน้ำและเกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้ในเชิงประจักษ์ ทำให้บริษัท มีวนาได้รับโล่เกียรติคุณจากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ในฐานะหน่วยงานที่มีการดำเนินกิจกรรมการตอบแทนคุณระบบนิเวศ (PES) และกิจกรรมการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ถือเป็นความภาคภูมิใจของมีวนาและเกษตรกรทุกคน และการทำงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลครั้งนี้ ทำให้ทีมงานได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ทางวิชาการกับผู้เชี่ยวชาญของ BEDO ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงานอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำต่อไปในอนาคต

คุณคมศักดิ์กล่าวส่งท้ายว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำ คือ การเกื้อกูล สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร ภาครัฐ ในการทำงานร่วมกันในระยะเวลานาน เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ และทำให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน หากชาวพรีเมียร์ที่ต้องการร่วมเรียนรู้วิถีการทำงานของมีวนา ก็มีกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งการทำแนวกันไฟป่า การปลูกป่า การบวชป่าซึ่งเราจัดเป็นประจำทุกปี หรือเพียงแค่ร่วมบอกต่อเล่าเรื่องราวของมีวนาให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง ก็ช่วยขยายผลการทำงานของมีวนาได้แล้วเช่นกัน

Raya Collection

สร้างความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืนของ Raya Collection

Raya Collection

การสร้างความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืน
ของ Raya Collection

ด้วยการดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ใส่ใจในทุกรายละเอียด พิถีพิถันในการดูแลทุกขั้นตอน สร้างความประทับใจและมอบประสบการณ์สุดพิเศษให้แก่ทุกคนเมื่อมีโอกาสสัมผัสกับโครงการบ้านพักอาศัย โรงแรมทั้ง 3 แห่ง สถานที่จัดงาน ร้านบูทีคช้อปที่นำเสนอสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และที่สำคัญได้นำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่สั่งสมมากว่า 30 ปีในธุรกิจดังกล่าว ขยับตัวเข้าสู่ธุรกิจน้องใหม่ Creative Agency ที่พร้อมให้คำปรึกษาด้าน Hospitality & Design ครบวงจร เรากำลังพูดถึง Raya Collection จากสายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธุรกิจโรงแรม กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ เรามาทำความรู้จักธุรกิจทั้งหมดของ Raya Collection ว่าทำธุรกิจอะไรบ้าง และมีความโดดเด่นอย่างไร

การสร้างความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืนของ Raya Collection

คุณทิพย์ชยา พงศธรกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธุรกิจโรงแรม เล่าว่าที่ผ่านมาคนส่วนมากจะรู้จักเราแบบแยกส่วนเช่น โรงแรมรายาวดี โรงแรมแทมมาริน วิลเลจ เชียงใหม่ แต่คนจะไม่รู้ว่านี่คือส่วนหนึ่งของธุรกิจเราเท่านั้นเป้าหมายของการสื่อสารแบรนด์ Raya Collection เพื่อต้องการให้คนรู้จักเราในภาพรวมมากขึ้น และเราก็ต้องการที่จะเป็นหนึ่งในธุรกิจชั้นนำของเมืองไทยในด้าน Hospitality & Design ที่นำคุณค่าหลักของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ คือความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืนเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานมาตลอด 30 ปี ซึ่งนิยามความโดดเด่นของ Raya Collection มี 4 ด้านหลักคือ

  • ความซาบซึ้งและหวงแหนในวัฒนธรรมพื้นถิ่น (Local Appreciation)ไม่ว่าเราจะไปทำธุรกิจในพื้นที่ใด เรามีความชื่นชมกับสิ่งรอบตัว ทั้งความสวยงามของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ทะเล ภูเขา หรือในแง่ของวัฒนธรรม สินค้าพื้นเมือง สิ่งที่เราทำนอกจากการรักษาความสวยงามของธรรมชาติ เรายังร่วมเสริมให้พื้นที่นั้นมีความโดดเด่นมากขึ้น ทั้งในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสินค้าพื้นเมืองให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นและจับต้องได้ เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนมากขึ้น
  • ความยั่งยืน (Sustainability) เราต้องการเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน อยู่กับชุมชนนั้นได้อย่างยาวนาน เมื่อเราเข้าไปทำธุรกิจในพื้นที่ใดก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือชุมชนและสังคมที่นั่น ดังนั้นการออกแบบก็จะดีไซน์ให้มีความสวยงามเหนือกาลเวลา (Timeless Design) กลมกลืนและไม่ทำร้ายธรรมชาติ
  • การยกระดับพัฒนาชุมชน (Community Engagement) เรามีการสร้างความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนต่อเนื่อง เพื่อที่เราจะเป็นเพื่อนบ้านกันอย่างยาวนาน
  • มากไปกว่านั้น คือ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในพื้นที่ (Creative Economy) ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และบริการให้มีคุณค่าและความหมายมากขึ้น

แก่นของการทำธุรกิจทั้ง 4 ด้านนี้เป็นสิ่งที่อยู่ในทุกงานที่เราทำภายใต้ Raya Collection ประกอบด้วย โรงแรมรายาวดี กระบี่, โรงแรมแทมมาริน วิลเลจ และโรงแรมรายาเฮอริเทจ เชียงใหม่, สถานที่สำหรับจัดงาน The Botanical House, ด้วยจุดแข็งของการทำธุรกิจโรงแรม เราได้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแบรนด์รายา เรสซิเดนซ์ที่นำแนวคิดของการพักผ่อนที่ใกล้ชิดธรรมชาติ เงียบสงบ มาออกแบบพื้นที่ส่วนตัวที่ทุกคนในครอบครัวได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน รวมไปถึงเรา มีการเปิดร้าน Raya Curated Collection ที่ทีมดีไซเนอร์ลงพื้นที่ทำงานกับชุมชน ร่วมกับ Artisan (ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและงานฝีมือ) ในพื้นที่ สร้างสรรค์สินค้าที่โดดเด่นและทรงคุณค่า มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า สามารถเลือกซื้อสินค้าได้จากช่องทางออนไลน์ ที่ https://therayacuratedcollection.com/

นอกจากนี้ เราได้เริ่มงานRaya Creative Keysที่เป็นธุรกิจ Hospitality & Design Creative Agency น้องใหม่ ที่เรานำความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจโรงแรมมาตลอด 30 ปี มาช่วยพัฒนาโปรเจกต์ให้กับลูกค้าของเรา ซึ่งเราจับงานด้านนี้มา2 – 3 ปีแล้วสร้างความโดดเด่น สร้างคุณค่าและเติมเต็มทุกความต้องการทางธุรกิจให้กับลูกค้าอย่าต่อเนื่อง เริ่มมีผลงานฝากฝีมือกับโรงแรม และงานดีไซน์ให้เป็นที่รู้จักในวงการมากขึ้น

Raya Creative Keys คือ การออกแบบประสบการณ์ที่ครบวงจร

คุณต๋อย ชุติมา เรืองฤทธิ์ราวีที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธุรกิจโรงแรม เล่าว่าจุดเริ่มต้นของการพัฒนาโรงแรมรายาเฮอริเทจ ที่เชียงใหม่ เมื่อปี 25… เป็นผลงานที่เราภูมิใจ ทั้งการออกแบบ การดีไซน์ประสบการณ์ที่แขกจะได้รับตั้งแต่ย่างก้าวแรก จนเป็นเสมือน Showcase จากแขกที่ไปพักซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจที่ต้องการลงทุนทำโรงแรม ก็กลายมาเป็นลูกค้าเรา ให้เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบประสบการณ์ให้กับแขกที่จะมาพักในโรงแรมของเขา หรือลูกค้าบางท่านก็วางใจให้เรามีส่วนร่วมตั้งแต่การเลือกทำเลพื้นที่เลยทีเดียวส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนที่มีวิสัยทัศน์ มุมมองในการทำธุรกิจที่ใกล้เคียงกับเรา ใส่ใจในศิลปะและวัฒนธรรมพื้นถิ่นอันทรงคุณค่า คำนึงถึงความยั่งยืน ถือเป็น Positive Energy ที่ดีมาก ๆ ที่เราจะสร้างความเข้มแข็งการการทำธุรกิจที่ยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น

คุณเต้ พุฒิเศรษฐ์ จันทร์ศิลาAccount Manager เสริมว่า เราดูแลงานให้ลูกค้าหลากหลาย ทั้งการสร้างแบรนด์ ดึงความโดดเด่นของสินค้าและบริการ หยิบยกมาเล่าเรื่องให้น่าสนใจ ส่วนที่ 2 คือ งานดีไซน์ ครอบคลุมทั้งแต่งานออกแบบ งานตกแต่งภายใน การออกแบบประสบการณ์ของแขกที่จะมาพักหรือใช้บริการ ทั้งรูป รส กลิ่นสี ตามที่ลูกค้าต้องการ เพื่อให้โรงแรมมีความโดดเด่นแตกต่าง สร้างความประทับใจให้แขกที่มาพัก สุดท้ายคือ งานบริการ ที่เราจะช่วยกำหนดมาตรฐาน การบริหารจัดการระบบ และงานบริการ เพื่อให้ลูกค้าสามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้บริหารงานต่อไปได้ในอนาคต

ความท้าทายของทำงานครีเอทีฟ เอเจนซี่

หากจะถามว่าส่วนที่ยากที่สุดของการทำงานเอเจนซี่คืออะไร คุณต๋อย เล่าว่า ด้วยความที่เราไม่เคยจับงานธุรกิจให้คำปรึกษามาก่อน เราเคยทำแต่งานอสังหาริมทรัพย์และโรงแรมที่เป็นของเราเอง เมื่อวันที่เราปรับบทบาทตนเองมาให้บริการลูกค้า สิ่งสำคัญคือ เราต้องเข้าไปนั่งในใจของลูกค้า ทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด เมื่อเราเริ่มทำงานกับลูกค้า โปรเจกต์หนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 18 เดือนจนถึง 2 ปี ดังนั้นการสื่อสาร การพูดคุยทำความเข้าใจความต้องการ การหาข้อมูลเพื่อสนับสนุนให้งานของลูกค้าประสบผลสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญมาก ทีมก็ต้องทำงาน ค้นคว้าหาข้อมูล เพิ่มทักษะการนำเสนอที่จะทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นและไว้วางใจ ดูแลจนโปรเจกต์สำเร็จเป็นสิ่งที่ทีมได้เรียนรู้ทุกวัน

อีกมุมหนึ่งก็เป็นความสนุกที่ทีมงานทุกคนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอด ได้ทำงานลงพื้นที่ ในจังหวัดที่เราไม่คุ้นเคย ได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย และเป็นประสบการณ์ที่จะสั่งสมให้เราสามารถทำงานให้คำปรึกษากับลูกค้าได้ดีขึ้นในงานต่อไปในอนาคตเป็นคำที่คุณรินกล่าวทิ้งท้ายและขอฝากแบรนด์ “Raya Collection” ให้ทุกคนได้เข้ามาเรียนรู้ ทำความรู้จักได้ที่ https://raya-collection.com/ หรือหากต้องการทำงานร่วมกับ Raya Collection สามารถติดต่อได้ที่ คุณเต้ พุฒิเศรษฐ์ Phuttised.c@raya-collection.com

DCSรับมือภัยไซเบอร์

DCS รับมือ…ภัยไซเบอร์

DCSรับมือภัยไซเบอร์

DCS รับมือ...ภัยไซเบอร์
ด้วยการเข้าถึงระบบอย่างปลอดภัย

ดีซีเอส ร่วมกับ เอ็กคลูซีฟ เน็ตเวิร์คส์ และ พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ จัดสัมมนาเพื่อแนะนำและสร้างความตระหนักให้ทุกองค์กรเข้าสู่ Zero Trust Network Access 2.0 (ZTNA 2.0)  ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานยุคใหม่ ของการเข้าถึงระบบอย่างปลอดภัย 

โดย ZTNA ได้พัฒนาขึ้นเพื่อทดแทนเครือข่ายส่วนตัวแบบเสมือน (VPN) เหตุเพราะไม่สามารถขยายขอบเขตบริการได้เพียงพอและยังให้สิทธิ์ที่มากเกินจำเป็น บวกกับผลิตภัณฑ์ ZTNA 1.0 ยังมีความไว้วางใจมากเกินไป ส่งผลให้ผู้ใช้งานเกิดความเสี่ยงในท้ายที่สุด ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้ถูกแก้ไขใน ZTNA 2.0 โดยได้ยกเลิกการตั้งค่าความไว้วางใจโดยปริยายเพื่อให้มั่นใจได้ว่าองค์กรจะมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอ

ด้วย ZTNA 2.0 เช่น Prisma® Access จากพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ จะช่วยให้องค์กรพร้อมรับมือกับความท้าทายเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ ทั้งในด้านแอพพลิเคชันยุคใหม่ ภัยคุกคาม และบุคลากรที่ทำงานแบบไฮบริด 

ZTNA 2.0 มาพร้อมคุณสมบัติหลักที่สำคัญดังต่อไปนี้

  • สิทธิ์การเข้าถึงน้อยสุดเท่าที่จำเป็น (Least-privileged access)
  • การยืนยันความไว้วางใจอย่างต่อเนื่อง (Continuous trust verification)
  • การตรวจสอบความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง (Continuous security inspection)
  • ปกป้องข้อมูลทั้งหมด (Protection of all data)
  • รักษาความปลอดภัยให้กับทุกแอปพลิเคชัน (Security for all applications) ปัจจุบัน Prisma Access เป็นโซลูชันเดียวในอุตสาหกรรมที่ผ่านข้อกำหนดของ ZTNA 2.0 ในวันนี้

DCS ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจร พร้อมให้คำปรึกษาด้านระบบรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรชั้นนำ รับมือ…ภัยไซเบอร์ 

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ : คุณสุชาดา เหมประชิตชัย (หลิน) Email : Suchada.h@dcs.premier.co.th

Raya Creative Keys

Raya Creative Keys ครีเอทีฟเอเจนซี่ ธุรกิจใหม่จาก PRH

Raya Creative Keys

ส่งต่อคุณค่าภูมิปัญญาของชุมชน
สู่งานออกแบบ และให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาธุรกิจครบวงจร
กับ Raya Creative Keys ครีเอทีฟเอเจนซี่ ธุรกิจใหม่จาก PRH

หลายท่านได้สัมผัสประสบการณ์การดื่มกาแฟที่ร้านMivana Flagship Store” ที่นอกจากความอร่อยของกาแฟ และเครื่องดื่ม สิ่งที่โดดเด่นก็คือการตกแต่งพื้นที่ร้านด้วยความประณีตบรรจงและลงตัว ทั้งเฟอร์นิเจอร์ โคมไฟ และต้นไม้โดยรอบ ที่สำคัญคือการออกแบบวิธีการสื่อสารอย่างกลมกลืนในการเชื่อมต่อร้านกาแฟกับพื้นที่เพาะปลูกกาแฟที่ป่าต้นน้ำจ.เชียงราย ที่สร้างความตระหนักให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  รวมถึง“Home Cuisine” ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง ที่ทั้งอร่อยและเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนในยุคปัจจุบัน  

เบื้องหลังวิธีคิดและการออกแบบของทั้งสองโครงการนี้เป็นฝีมือของRaya Creative Keys  ครีเอทีฟเอเจนซี่ ธุรกิจน้องใหม่ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจโรงแรม ที่เริ่มเปิดบริการให้สายธุรกิจในกลุ่มบริษัทพรีเมียร์และลูกค้าทั่วไป ทั้งงานออกแบบอสังหาริมทรัพย์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และงานดีไซน์ที่หลากหลาย

คุณทิพย์ชยา พงศธร  กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธุรกิจโรงแรม   คุณชุติมา เรืองฤทธิ์ราวี  ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธุรกิจโรงแรม และคุณพุฒิเศรษฐ์ จันทร์ศิลา General Manager, The Botanical House จะมาบอกเล่าเรื่องราวของ Raya Creative Keys  

เพิ่มศักยภาพของพนักงานที่มาและจุดเริ่มต้น

คุณชุติมา เล่าถึงที่มาว่าเรามีการส่งเสริมพัฒนาพนักงานโดยตลอด หนึ่งในนั้นคือการทำ Cross training ให้พนักงานในธุรกิจโรงแรมทั้ง 3 แห่งได้หมุนเวียนเปลี่ยนพื้นที่การทำงาน เปิดมุมมองให้กว้างขึ้น และ ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่แตกต่างจากงานประจำในทุกวัน เป็นหลักคิดที่เรานำพนักงานเป็นที่ตั้ง ว่าเราจะต้องส่งเสริมให้พนักงานมีคุณภาพ มีความรู้และประสบการณ์การทำงานที่กว้างมากขึ้ เป็นจุดเริ่มต้นว่าธุรกิจที่จะพัฒนาขึ้นนั้น  จะเกิดประโยชน์กับพนักงานให้เขาได้ฝึกฝนและมีความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ  และ การพัฒนาธุรกิจนั้นสร้างรายได้ให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน ส่งเสริมชุมชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่เราไปดำเนินการ และ ร่วมมือ กับ partners ที่มีจุดยืนและวิสัยทัศน์ เช่นเดียวกัน

คุณทิพย์ชยา เสริมในรายละเอียดว่าเราได้ริเริ่มคิดว่าจะพัฒนาศักยภาพพนักงาน ให้ได้เปิดหูเปิดตา ได้จับงานใหม่ๆ มากขึ้น เรามองเห็นว่าพนักงานสามารถนำประสบการณ์ทำงาน ไปพัฒนาโครงการให้กับธุรกิจในกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ได้  ประกอบกับช่วงโควิดที่ธุรกิจโรงแรมไม่ค่อยยุ่งนัก จึงนำคนของเราไปรับโปรเจกต์ใหม่ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เป็นการทำงานแบบ On the job training  ซึ่งพนักงานก็ได้ใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณค่าหลักขององค์กรในการฝึกปฏิบัติลงมือทำงานจริงๆ  ก็พบว่าทุกคนดีใจที่ได้จับงานใหม่ๆ ได้พัฒนาทักษะความสามารถของตัวเองเพิ่มขึ้นจากงานประจำ ได้ลองสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ที่แตกต่างจากเดิม รวมถึงก็เป็นการเพิ่มทักษะการบริหารจัดการเวลา ด้วยความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้น จากงานประจำในธุรกิจหลักของ PRH ด้วยเช่นกัน ซึ่งเราก็รับงานมาเรื่อยๆ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาจนเกิดเป็นรูปเป็นร่างที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจใหม่นี้ขึ้น

ความโดดเด่นของ Raya Creative Keys

คุณทิพย์ชยา เล่าต่อว่า “Raya Creative Keys จะเป็นครีเอทีพเอเจนซี่ที่รับงาน 3 ประเภทหลัก คือ  1. งานพัฒนาโครงการที่เป็น Turnkey ในสายธุรกิจโรงแรมและธุรกิจร้านอาหาร คือ รับทำตั้งแต่การวางแบรนด์คอนเซปต์ การออกแบบและบริหารโครงโครงการก่อสร้าง ดูแลงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง รวมไปถึงการจัดงานเปิดตัว การฝึกอบรมพนักงานก่อนที่เปิดดำเนินการ และรับงานบริหารจัดการต่อเนื่องอีกด้วย  งานประเภทที่ 2 คือ งานออกแบบดีไซน์ เป็นโปรเจกต์สนุกๆ ซึ่งมีหลากหลาย ทั้งการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การออกแบบสื่อสิงพิมพ์ รวมถึงธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม จะเป็นงานออกแบบประสบการณ์ความพึงพอใจที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Experience Design)  ซึ่งต้องผ่านการคิดและออกแบบประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับตั้งแต่เดินเข้ามาในสถานที่นั้นๆ ครอบคลุมทั้งอาหารและเครื่องดื่ม การแต่งกายของพนักงาน รวมถึงการบริการ บรรยากาศภายในร้านทั้งเสียงดนตรี กลิ่นสัมผัสทุกองค์ประกอบ เป็นงานที่เรามีความเชี่ยวชาญและได้ฝากฝีมือกับร้านกาแฟ Mivana Flagship Store ที่ศรีนครินทร์และทำงานต่อเนื่องร่วมกับมีวนา เตรียมจะเปิดอีก 1 สาขาภายในกลางปีนี้  และส่วนสุดท้ายคือเราต้องการถ่ายทอดเรื่องราวศิลปวัฒนธรรมไทยและการเชื่อมต่อกับชุมชน ที่เรามองไปถึงการจัดนิทรรศการ การโปรโมทศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์และโดดเด่น 

คุณพุฒิเศรษฐ์ ได้มารับหน้าที่บริหารจัดการโปรเจกต์ต่างๆใน Raya Creative Keys เสริมว่า หากให้นิยามตัวตนของ Raya Creative Keys  เราก็คือ บริษัทไทยที่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจโรงแรม และการบริการที่ครบวงจรมาอย่างยาวนาน สิ่งที่เราต้องการส่งต่อให้กับลูกค้าคือ ภูมิปัญญาของชุมชน ผ่าน 3 แกนหลัก คือ การหล่อเลี้ยงคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรมไทย (nurturing the value of Thai culture and heritage art) การผสานและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ (enhancing the strong relationship with nature) และการสร้างการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน (initiating community engagement) ดังนั้นไม่ว่าเราจะรับงานประเภทใดก็ตาม เราก็ต้องไม่ลืมตัวตนของเรา และส่งต่อสิ่งเหล่านี้ด้วยคุณภาพและความคิดสร้างสรรค์ให้กับลูกค้าเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

คุณรินเสริมว่า เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่ลูกค้าภายนอกตอบรับและให้ความสนใจ Raya Creative Keys ด้วยความแตกต่างของเราในเรื่องศิลปะวัฒนธรรม การอนุรักษ์ธรรมชาติ ความยั่งยืน และเห็นความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยการเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติของโรงแรมทั้ง 3 แห่งที่เราดำเนินการอยู่ ซึ่งเหล่านี้เป็นจุดที่คนให้ความใส่ใจมากขึ้น ผู้คนต้องการสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจ มีความโดดเด่นแตกต่าง และคำนึงถึงความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งลูกค้าที่มาร่วมงานกับเราก็จะเป็นกลุ่มคนที่คำนึงถึงความยั่งยืนเช่นเดียวกับแนวปฏิบัติของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์จริงๆ 

 กระบวนการค้นหาความต้องการของลูกค้าสิ่งสำคัญลำดับแรกเมื่อเริ่มต้นงาน

ในส่วนของการพัฒนางานร่วมกับลูกค้านั้น พี่ต๋อยได้อธิบายว่า ในขั้นตอนแรกนั้นการวางแผนงานและกระบวนการค้นหาความต้องการว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการนั้นคืออะไร ซึ่งการได้มาของข้อมูลที่แท้จริงจะมาจากประสบการณ์ที่เราได้ทำงานกับลูกค้าหลากหลาย เพราะฉะนั้นก่อนเริ่มงาน เราต้องอ่านลูกค้าให้ออกว่าเขาต้องการอะไร และจับทิศทางให้ได้ เราก็เปรียบเสมือนนักขาย ที่ต้องเรียนรู้ทุกอย่าง ต้องเข้าไปนั่งอยู่ในใจของลูกค้าให้ได้ หากเราทำการบ้านส่วนนี้ได้ชัดเจน ก็เปรียบเสมือนแผนงานสำเร็จไปแล้ว 70% หลังจากนั้นการทำงานตามขั้นตอนในทุกรายละเอียดก็จะดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย พี่จะบอกน้องในทีมเสมอว่าไม่ว่าจะเป็นลูกค้าในสายธุรกิจของเราเองหรือลูกค้าภายนอก ทุกคนต้องใช้ความพยายาม ทุ่มเทในการทำงาน 100 % เต็มเสมอ 

ทีมเวิร์ค การสื่อสารระหว่างกันช่วยผลักดันให้งานสำเร็จ

หากจะพูดถึงจุดแข็งของทีม คุณรินและคุณเต้กล่าวตรงกัน ว่าการสื่อสาร การพูดคุยกับทีมตลอดเวลา ด้วยขนาดของทีมที่ไม่ใหญ่มาก ทำให้เราสนับสนุนกันได้ทุกเรื่อง ก่อนที่จะรับงานก็จะหารือกันก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่ จัด Balance ระหว่างงานประจำกับงานโปรเจกต์ เพื่อให้มีเวลาในการคิดสร้างสรรค์งานได้อย่างมีคุณภาพและเสร็จตรงตามเวลาที่กำหนด โดยคุณเต้จะเป็นผู้ดูแลโปรเจกต์ ดูแลน้องในทีม ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการทำงานที่เป็นระบบ สื่อสารระหว่างกันในทีมตลอดเวลา ทั้งทีมดีไซน์, ทีม Stylist, ทีม Food & Beverage รวมถึงทีม Sale & Marketing ทุกคนต้องผสานความร่วมมือกันเพื่อให้งานเสร็จตามเป้าหมาย 

คุณเต้บอกกับเราว่าทุกวันนี้มีความสุข และสนุกกับการทำงานมาก มีโปรเจกต์ใหม่ๆ เข้ามาให้เราได้เรียนรู้อย่างหลากหลายมากขึ้น ได้พัฒนาทักษะของตัวเองเรื่อง People Management รวมถึง Project Management มากขึ้น และน้องในทีมก็ได้พัฒนาทักษะ เติบโตไปพร้อมกับเรา เป็นสิ่งที่ดีมากๆ 

คุณรินเล่าถึงโปรเจกต์ที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันว่า นอกจากร้านกาแฟมีวนาแล้ว ในกลุ่มบริษัทพรีเมียร์เราได้ร่วมพัฒนาแบรนด์Home Cuisineผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง ของ PFP  ตั้งแต่การคิดเมนู การพัฒนาสูตรอาหาร การออกแบบบรรจุภัณฑ์และการตลาด รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารแมวCat Atlasของ PCI ทีมได้ดูแลการปรับดีไซน์บรรจุภัณฑ์และวางแผนการตลาด ส่วนลูกค้าภายนอกก็มีทั้งโปรเจกต์โรงแรมในกรุงเทพฯ และการออกแบบตกแต่งที่พักอาศัยให้กับลูกค้าที่ชอบสไตล์ของรายาวดี ซึ่งแต่ละโปรเจกต์ก็มีความยากง่ายแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือเราต้องมีการทำงานสื่อสารกับลูกค้า ทำความเข้าใจลูกค้าให้ชัดเจนว่าสิ่งที่เขาต้องการคืออะไร และการบริหารความคาดหวังที่ต้องทำงานให้ตอบโจทย์เป้าหมายของลูกค้าให้ดีที่สุด

คุณเต้ สรุปตอนท้ายว่าในการทำงานเชื่อว่าทุกอย่างมีความท้าทาย งานทุกโปรเจกต์มีความยากง่ายและปัญหาที่ต้องพบแตกต่างกัน เป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา ผมคิดว่าทีมเวิร์คเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ต้องปรึกษากันตลอดเวลา เพื่อช่วยกันผ่านปัญหาและสิ่งที่เจอในทุกจุดให้ผ่านไปได้และลูกค้าก็ได้รับความพึงพอใจ รวมไปถึงน้องในทีมก็ต้องได้มีการพัฒนาศักยภาพในการทำงานด้วยงานที่หลากหลายด้วยเช่นกัน

Key Learning

  • โอกาสทางธุรกิจ เกิดขึ้นได้เสมอ ต้องเตรียมพร้อมและพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
  • การปรับสภาพแวดล้อม  การริเริ่มทำสิ่งใหม่ เป็นหนึ่งในวิธีการพัฒนาศักยภาพพนักงาน
  • การผสานความรู้ ความร่วมมือและการสื่อสาร เป็นสิ่งสำคัญช่วยให้ทีมมีประสิทธิภาพในการทำงาน
  • กระบวนการค้นหาความต้องการของลูกค้าให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน
  • การวางแผนงานอย่างละเอียดรอบคอบ เป็นปัจจัยที่ทำให้งานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

สายธุรกิจที่สนใจใช้บริการของ Raya Creative Keys ติดต่อที่

คุณเต้ พุฒิเศรษฐ์  อีเมล Phuttised.C@prh.premier.co.th โทร 0955311856

PM Food

การสร้างความมั่นคงทางอาหาร แผนธุรกิจสู่ความยั่งยืนของ พี.เอม.ฟูด

PM Food

การสร้างความมั่นคงทางอาหาร
แผนธุรกิจสู่ความยั่งยืนของ พี.เอม.ฟูด

ปัญหาอาหารกลางวันในโรงเรียนขาดคุณภาพ ข่าวถาดหลุมของเด็กนักเรียนในโรงเรียนที่มีแต่ข้าวและน้ำผัก ฯลฯ เป็นสิ่งที่เราเห็นจนชินตา และเป็นปัญหาหมักหมมที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยมาต่อเนื่อง หากมองไปถึงสาเหตุนั้น ก็เกิดขึ้นทั้งจากการทุจริตงบประมาณค่าอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน การขาดความรู้ด้านโภชนาการของครูและโรงเรียน การขาดแคลนบุคลากรที่จะทำงานดูแลด้านโภชนาการให้กับเด็ก การขาดแหล่งเพาะปลูกทางการเกษตรที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล และอีกมากมาย ส่งผลให้เด็กไทยกว่า 2.9 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของเด็กอายุ 6-14 ปี ขาดสารอาหาร ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองที่ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ 

ปัญหาเหล่านี้ ฟู้ดฟอร์กู๊ด ได้ทำงานเพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก ร่วมกับโรงเรียนในเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมาที่ทีม ฟู้ดฟอร์กู๊ด ได้นำเสนอกระบวนการทำงานและสิ่งที่ต้องการความร่วมมือกับพนักงานและผู้บริหารจากทุกสายธุรกิจที่งานคนจริง X มูลนิธิ ร่วมสร้างสังคมดี  ร่วมกับหลายหน่วยงานในสายงานพัฒนาความยั่งยืนของสังคม จุดประกายให้คุณเก่งและทีมงานของ พี.เอม.ฟูด ผู้ผลิตปลาสวรรค์ทาโร ได้เห็นช่องทางในการร่วมสนับสนุนด้านอาหารและโภชนาการให้กับเด็กไทย และต่อยอดสู่การพัฒนาธุรกิจใหม่ในอนาคตเลยทีเดียว 

คุณเก่ง วิภาส เล่าที่มาให้เราฟังว่า พี.เอม.ฟูด เป็นบริษัทที่ผลิตปลาสวรรค์ทาโร ซึ่งเป็นขนมขบเคี้ยวที่มีโปรตีนจากเนื้อปลา เป็นขนมที่เด็กๆ ชื่นชอบและมีประโยชน์ ที่ผ่านมาบริษัทมองถึงเรื่องการสร้างความยั่งยืน ความมั่นคงทางอาหาร การจัดการและใช้ทรัพยากรให้มีความคุ้มค่ามากที่สุด มาโดยตลอด ทั้งการส่งเสริมการพัฒนาความยั่งยืนของแหล่งวัตถุดิบต้นน้ำ ที่บริษัทจะเป็นหัวขบวนในการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบจากแหล่งที่มีความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบแหล่งที่มาได้ รวมถึงการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในห่วงโซ่เพื่อใช้วัตถุดิบหรือทรัพยากรในกระบวนการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากส่วนที่เหลือในกระบวนการผลิต ที่อยู่ในกระบวนการวิจัย เช่น FISH ESSENCE รวมถึงแผนงานรีไซเคิลซองทาโรที่เป็นแผนงานระยะยาวที่ต้องการความร่วมมือขนาดใหญ่ เป็นต้น

เมื่อได้เข้าร่วมงานคนจริง เมื่อปีที่ผ่านมา และได้ฟังทีม ฟู้ดฟอร์กู๊ด เล่าถึงการทำงาน ก็เหมือนภาพที่ต่อกันติดอย่างรวดเร็ว ว่าพี.เอม.ฟูด สามารถช่วยได้จากการดำเนินธุรกิจของเราเอง จึงได้กลับมาหารือกับทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ พบว่ากระบวนการผลิตสินค้าทาโรโรล ที่ต้องมีมาตรฐานความยาว 2 เมตรพอดี เป็นคุณภาพที่เรายึดมั่นกับลูกค้าที่ต้องส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุด แต่ส่วนที่เหลือนั้น ก็เป็นวัตถุดิบที่อยู่ในกระบวนการผลิต ที่ยังมีสารอาหารครบถ้วน  เราสามารถที่จะดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์เสริมสร้างโปรตีนให้กับเด็กๆได้ เป็นการทำงานไม่เพียงแค่ตอบโจทย์ทางธุรกิจ แต่ยังช่วยลดต้นทุนด้านการจัดการของเสียอีกด้วย สอดคล้องกับแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และใช้ความเชี่ยวชาญที่เรามีเพื่อไปช่วยแก้ปัญหาสังคม เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน ที่จะดำเนินการในปี 2566 นี้ 

คุณปูน้อย จิตราภรณ์ โสวภาส ผู้จัดการฝ่ายประกันคุณภาพ เล่าว่าจากที่ได้ฟังคุณวิเชียรนำเสนอในประชุมใหญ่พนักงาน (งาน TOWNHALL)  ประโยคที่ว่าเราจะต้องนำธุระของสังคมมาเป็นเรื่องของเรา เราต้องไม่นิ่งดูดายกับปัญหาจุดประกายให้เราอยากมีส่วนร่วมในงานภาคสังคมมากกว่าการบริจาค และการทำงานของเราก็สอดคล้องกับฟู้ดฟอร์กู๊ด ด้านอาหารและโภชนาการที่ดีอยู่แล้ว จึงได้ร่วมกันคิดและพัฒนากับทีม ในการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิต มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนโภชนาการที่ดีของเด็กนักเรียน   ซึ่งการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิต เป็นงานที่เราเชี่ยวชาญ โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนในการผลิตหรือเพิ่มเครื่องจักร เพียงเพิ่มกำลังคนในการดำเนินการเพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้างประโยชน์ ให้เด็กที่จะได้รับประทานอาหารที่มีโภชนาการที่ดี เติบโตสมวัยได้เท่าทวีคูณ ซึ่งเราทำงานร่วมกับฟู้ดฟอร์กู๊ด และบมจ. พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง มาตั้งแต่เดือนต.. 2565  ตอนนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาและทดลองผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตามความต้องการของโรงเรียน 

ทว่าหลังจากที่ได้นำเสนอแผนการทำงานที่จะเข้าไปช่วยเหลือเด็กในโครงการฟู้ดฟอร์กู๊ด ทีมพี.เอม.ฟูด ก็ได้รับคำแนะนำว่าการผลิตภัณฑ์ที่ทีมได้ทดลองพัฒนาขึ้นมานี้ สามารถขยายผลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product) ออกสู่ตลาดให้กับสายธุรกิจอุปโภคบริโภคได้ ทำให้พี.เอม.ฟูด และพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง สามารถขยายธุรกิจจากผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ไปสู่ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารได้ในอนาคต

คุณเก่ง กล่าวเพิ่มเติมว่า เป้าหมายการดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืนของพี.เอม.ฟูด ในปี 2566 เรามีแผนใหญ่ๆ อยู่ 3 ด้าน คือ
การเพิมผลิตภาพการพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและมีความยั่งยืน  – การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสังคม เรามุ่งเน้นและเอาใจใส่คุณภาพของผลิตภัณฑ์ การพัฒนาแผนการทำงานที่สร้างผลกระทบเชิงบวก และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การรีไซเคิลน้ำกลับมาใช้ การลดปริมาณของเสียจากกระบวนการผลิต และการเลือกใช้การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนการพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและมีความยั่งยืน  เป็นการลดความเสี่ยงโดยการบริหารจัดการแหล่งวัตถุดิบ ใช้ทรัพยากรให้มีความคุ้มค่ามากที่สุด และการบริหารปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ 

  • การเพิ่มผลิตภาพ 
  • การพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและมีความยั่งยืน  
  • การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสังคม

คุณเก่งกล่าวสรุปในตอนท้ายว่าคุณค่าหลักเป็นที่บริษัทยึดถือในการทำงานมาโดยตลอด โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพที่นอกจากการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพให้กับผู้บริโภค ยังมีมิติของคุณภาพของพนักงาน ที่จะต้องมีความรู้จริงในเรื่องที่จะทำ ทำงานบนพื้นฐานของข้อมูล รวมทั้งมีใจ ในความหมายคือ มีความเต็มใจ ลงมือทำ ช่วยกันเป็นทีม และพร้อมที่จะก้าวออกมาทำงานที่นอกเหนือจากงานที่รับผิดชอบ มาร่วมกับงานภาคสังคม หรืองานสร้างความร่วมมือกับทุกๆ ฝ่าย 

สิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แผนงานสำเร็จของบริษัทตามเป้าหมายจากความร่วมมือของทุกคน รวมถึงหน่วยงานภาคสังคม บริษัทต่างๆ ที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่าของเรา ล้วนแต่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หากเราเปิดโอกาสให้ตนเองได้ทำงาน  ต่อยอดสิ่งที่เราทำอยู่ให้ดีขึ้น หรือคิดสิ่งใหม่ๆที่เกิดประโยชน์ร่วมกัน จะให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมเพิ่มขึ้นได้อีกมาก  จากแผนงานทั้ง 3 ส่วน เรามุ่งหวังสร้างความสำเร็จทั้งในด้านธุรกิจ  พนักงานได้มีโอกาสส่งมอบคุณค่าสร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อสังคม เป็นแบบอย่างที่ดี ให้เกิดการขยายผลต่อเนื่องในห่วงโซ่ธุรกิจ เพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืนครับ

มื้ออาหารมีประโยชน์ให้น้องๆ
ผ่านโครงการ FOOD FOR GOOD

มื้ออาหารมีประโยชน์ให้น้องๆ
ผ่านโครงการ FOOD FOR GOOD

เพราะการสร้างการมีส่วนร่วมเป็นการยกระดับการทำงานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและมีประโยชน์ในวงกว้าง  โครงการ FOOD FOR GOOD ที่มีภารกิจแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการเด็กไทยด้วยแนวคิดพี่อิ่มท้อง น้องอิ่มด้วยสร้างการมีส่วนร่วมกับคนในสังคมมาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งต่ออาหารที่มีคุณภาพให้น้องๆในการดูแลได้อิ่มท้องด้วยโภชนาการที่ดี

ทางโครงการฯ ชวน มาร์คภาวริสร์ พานิชประไพดีกรี MasterChef Junior Thailandพร้อมเดอะแก๊งค์ ชวนแฟนคลับและทุกคนในสังคมมาร่วมระดมทุนมอบมื้ออาหารที่ดี มีประโยชน์ให้กับเด็กๆ ที่อยู่ห่างไกล  ใน 2 โรงเรียนที่ห่างไกล ตลอด 1 ปีการศึกษา 65

มาร์คภาวริสร์ บอกว่าเพราะผมรักการทำอาหารและเชื่อเหมือนกับ FOOD FOR GOOD ว่าโภชนาการที่ดีคือรากฐานของการเจริญเติบโต  และทุกวันนี้ 1 ใน 3 ของเด็กไทย หรือ 2.9 ล้านคน มีภาวะทุพโภชนาการ เพราะพวกเขาได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่ครบถ้วน ส่งผลให้ร่างกายและสมองของพวกเขาไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ ผมจึงอยากชวนทุกคนมาร่วมกับผมเพื่อช่วยกันทำให้เพื่อนๆ ผมที่อยู่พื้นที่ห่างไกลได้มีโภชนาการที่ดีขึ้นครับ และการให้ครั้งนี้ไม่ได้จบเพียงแค่มื้ออาหารแต่เราจะทำให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีและเจริญเติบโตอย่างสมวัยครับ

สำหรับเงินบริจาคจำนวนนี้ทาง FOOD FOR GOOD จะนำไปดำเนินการตามกลไก 4 GOOD ของโครงการฯ คือ 

  • GOOD FOOD สนับสนุนมื้ออาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน หลากหลายและมีปริมาณที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกายให้เด็กในโรงเรียนที่ห่างไกล ตลอดระยะเวลา 1 ปี
  • GOOD KNOWLEDGE ให้ครูได้รับการส่งเสริมความรู้ ความสามารถ จัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง โดยตลอดโครงการครูจะได้รับคำปรึกษาจากนักโภชนาการจาก FOOD FOR GOOD เพื่อให้เพื่อน ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
  • GOOD FARM สนับสนุนแหล่งอาหารที่ปลอดภัย เพื่อนำมาปรุงอาหาร เพื่อส่งเสริมให้เกิดกองทุนหมุนเวียน สร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่เด็กในพื้นที่ห่างไกลแบบระยะยาว
  • GOOD HEALTH ติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน และทำงานใกล้ชิดกับกลุ่มนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง พร้อมทำงานเชื่อมต่อกับสาธารณสุขในพื้นที่ทั้งหมด

สาลินี รัตนชัยสิทธิ์ ​ศิลปินวาดภาพประกอบ
@Cyranodesign (ไซราโนดีไซน์)
ใช้ความถนัด ร่วมสร้างสังคมดี วาดภาพลายเส้น ส่งน้องเรียนให้ปันกัน

สาลินี รัตนชัยสิทธิ์ ศิลปินวาดภาพประกอบ @Cyranodesign (ไซราโนดีไซน์)
ใช้ความถนัด ร่วมสร้างสังคมดี วาดภาพลายเส้น ส่งน้องเรียนให้ปันกัน

เพราะการแบ่งปันคือโอกาสทางการศึกษา  คุณสา สาลินี รัตนชัยสิทธิ์ ศิลปินวาดภาพประกอบ Character Illustrator เจ้าของแบรนด์ @Cyranodesign (ไซราโนดีไซน์) ที่มีสินค้าไลฟ์สไตล์มากมายทั้งผ้าพันคอ กระเป๋าผ้า  ฯลฯ จึงใช้ความถนัดของตนเอง เพื่อช่วยงานภาคสังคม วาดภาพลายเส้นมอบให้โครงการร้านปันกัน ผลิตเป็นเสื้อยืด นำมาจำหน่ายเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กขาดโอกาส ในมูลนิธิยุวพัฒน์ สินค้าจำหน่ายแบบพรีออเดอร์ ช่องทาง Line OA @Pankanonline ตั้งแต่วันนี้ -30 มิถุนายน 2565

คุณสาเล่าว่า เราได้ยินคำว่าแบ่งกันหรือแบ่งปันมาตั้งแต่เด็ก และเรียนรู้ว่าว่าการแบ่งนั้น เป็นการสละบางสิ่งให้แก่กัน สมัยเด็กเราอาจรู้สึกเสียดายเพราะยึดติด แต่พอโตมาแล้ว เราจะมองคนอื่นมากขึ้น เราเห็นว่าสิ่งที่เราปันไปนั้น ไม่ได้ทำให้ผู้รับหัวใจพองฟูอยู่ฝ่ายเดียว แต่เราก็ได้รับความสุขสดชื่น และอิ่มใจไปด้วยเช่นกัน คำว่าปันกันของสา เลยทำให้นึกถึงคำว่า “give and take” ซึ่งที่ผ่านมาเรามีส่วนร่วมทำกิจกรรมอาสาตลอดทั้งแรงกายบ้างความรู้บ้างอะไรที่คิดว่าตัวเองทำได้หรือมีประโยชน์กับผู้อื่นก็จะลงมือทำทั้งเป็นอาสาช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้การทำสิ่งของจำหน่ายเพื่อช่วยเหลือในเหตุการณ์ต่างๆ

แรงบันดาลใจของการวาดภาพนี้ตั้งต้นจากคำว่า ปันกันและเด็ก  ภาพตั้งต้นนั้นสาคิดถึงเด็ก 2 คนแบ่งสิ่งที่มีอยู่ให้แก่กันสิ่งนั้นอาจไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่แต่มีค่าในความรู้สึกเด็กคนหนึ่งมีดอกไม้และเด็กอีกคนมีน้องเห็ดสิ่งที่ต่างคนต่างมีในมือแลกเปลี่ยนหรือปันกันผ่านลวดลายของเครื่องแต่งกายพร้อมใบหน้าที่เปื้อนยิ้มเพราะทั้งคู่ได้แบ่งปันความสุขให้แก่กันจึงเกิดเป็นภาพวาดน่ารักๆนี้ขึ้น

คุณสากล่าวเพิ่มเติมว่าบางท่านเวลาเห็นใครหลายๆ คนช่วยเหลือกัน อาจจะคิดว่า เขาพร้อมและมีทุกอย่างเลยแบ่งปันได้ แต่จริงๆ การแบ่งปันกัน อาจเริ่มจากทักษะความสามารถเล็กๆน้อยๆ ของตัวเอง เช่นการวาดรูป ทำอาหาร ถนัดภาษา ถนัดงานไม้ ถนัดคำนวณ ถนัดเจรจา ถนัดวางแผน ชอบปลูกต้นไม้ ชอบงานประดิษฐ์ หรือแม้แต่ยังไม่มีไอเดียในหัวว่าเราชอบอะไร ทุกคนก็สามารถเรียนรู้ และแบ่งปันความสามารถของตัวเองได้ สิ่งที่เราชอบ ความถนัดของเราอาจเป็นที่ต้องการของอีกคน ดังนั้น ความถนัดต่าง ๆ ล้วนเกื้อกูลกัน ลองดึงศักยภาพของตัวเองออกมา และแบ่งปัน เชื่อว่าเราทุกคนจะช่วยสร้างสังคมที่ดีขึ้นได้

การศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็ก สามองว่าแม้ว่าพื้นฐานการเลี้ยงดู และความอบอุ่นในแต่ละครอบครัวอาจแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญและควรเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต คือ การศึกษาที่ดี สำหรับเด็กบางคนการศึกษาอาจเป็นสิ่งหล่อหลอมเดียวด้วยซ้ำ ที่จะเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต ไม่ว่าเด็กจะโตมาในสภาพความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมแบบไหน เขาควรได้รับโอกาสในการศึกษา ได้เรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้เขาคิดเป็น เลือกเป็น และใช้สิ่งนั้นเป็นต้นทุนชีวิต เพื่อพัฒนาตนเอง และพัฒนาสังคมต่อไป

ต้องขอบคุณโครงการร้านปันกันมูลนิธิยุวพัฒน์ที่ชวนมาสร้างสรรค์ลายเส้นครั้งนี้รายได้จากการจำหน่ายเสื้อยืดทุกตัวจะเป็นต้นทุนสำคัญให้กับเด็กๆเพราะไม่ใช่แค่ตัวเงินรายได้แต่นั่นคือการทำให้เด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่จะเป็นประโยชน์ทั้งกับตัวเขาและสังคมของเราในอนาคต

FOOD FOR GOOD
Fund Raising Charity Dinner

FOOD FOR GOOD

FOOD FOR GOOD
จัดกิจกรรม FOOD FOR GOOD Fund Raising Charity Dinner
สร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
เพื่อเป้าหมายสร้างรากฐานการเติบโตของเด็กๆ ด้วยโภชนาการที่ครบถ้วน

ขอบคุณทุกการสนับสนุน และความเชื่อมั่นในการทำงานเพื่อสร้างรากฐานการเติบโตของเด็กๆ

จบลงไปด้วยดีกับกิจกรรม FOOD FOR GOOD Fund Raising Charity Dinner การระดมทุนเพื่อสนับสนุนการทำงานของโครงการ FOOD FOR GOOD จัดขึ้นที่ โรงแรมรายาเฮอริเทจ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจากเชฟฟาง ณัฐพงศ์ หน่อชูเวช ร่วมกับ เชฟสมยศ ปกป้อง Curated Chef และทีมโรงแรม Raya Heritage จัดเซทเมนูอาหาร 6 คอร์สคู่กับไวน์ ให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้สัมผัสประสบการณ์ทานอาหารที่ดื่มด่ำ และอบอวลไปด้วยความอบอุ่น ที่ได้มาพบปะแลกเปลี่ยนเติมกำลังใจให้กัน และอิ่มเอิบใจที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานพัฒนาสังคม ที่ทุกคนอยากเห็นเด็กไทยเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์พร้อมต่อการเรียนรู้

กิจกรรมครั้งนี้ได้รับเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 127,600 บาท โครงการ FOOD FOR GOOD จะนำไปสร้างรากฐานการเติบโตของเด็กๆ ด้วยโภชนาการที่ครบถ้วน เพื่อให้พวกเขาเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงพร้อมรับอนาคตที่สดใส ตามเจตนารมณ์ของผู้ร่วมสนับสนุน.. เพื่อให้การช่วยเหลือครั้งนี้ไม่จบลงแค่เพียงหนึ่งมื้ออาหาร

 

โครงการ FOOD FOR GOOD ขอขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วมนำความถนัดและความเชี่ยวชาญ มาร่วมกันทำให้งานนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี ทั้งการสนับสนุนสถานที่และงบประมาณการจัดงาน จากบริษัท พรีเมียร์ รีสอร์ทส์ แอนด์ โฮเทลส์ จำกัด และขอบคุณ Bangkok Airways  และ Bangkok Liquor ผู้ใหญ่ใจดีของพวกเรา ขอบคุณสื่อทุกท่านที่ร่วมถ่ายทอดเรื่องราว และขอบคุณผู้สนับสนุนทุกท่านที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ รวมถึงทุกๆ คนที่ร่วมเป็นกระบอกเสียงให้โครงการ FOOD FOR GOOD เพื่อให้เด็กไทยได้มีโอกาสได้รับโภชนาการที่ดีต่อไป

This site is registered on wpml.org as a development site.